วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555





 

                                                        อาณาจักรทวารวดี

                                            อาณาจักรทวารวดี  (พุทธศัตวรรษที่ 11  16)   เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรทางแถบลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยาตอนล่าง เป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย  เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่
มี เมืองนครปฐม เป็นศูนย์กลาง หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋น และ หลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง)  พ.ศ. 1150  ได้กล่าว
ไว้ในจดเหตุของท่านว่า  มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า)  และอิสานปุระ (เขมร)
 ชื่อ โดโลปอดี้ (ทวารวดี)  และอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้าง
ตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860  1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม  และแถบเมืองที่ตั้งอยู่
ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่องไปทางภาคะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ 
                                            ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิได้ครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระของอาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน)  และอาณาจักรเจนละ (หรือเจินละ)  ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ 11 นั้น  ได้มีชนชาติหนึ่งที่แตกต่างกับชาวเจนละ  ในด้านศาสนาและศิลปกรรม  ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน
                                            จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. 1172  1188  และพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง (I-Sing)  ได้เดินทางไปอินเดียทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น  ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า โลโปตี้  หรือ จุยล่อพัดดี้ (ทวารวดี)  เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร)  ปัจจุบันคือ ส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย
                                            พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึง
อาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน
                                            ในสมัยแรกๆ ได้มีการสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.ศ. 300  เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคย
เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11  16)  ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือปรากฎ
เป็นโบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน  วัดพระประโทนเจดีย์  วัดพระเมรุ  วัดพระงาม และวัดดอยยาหอม เป็นต้น   โบราณสถานที่ค้นพบ
ล้วนเป็นฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดบร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้น  มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่
แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน  และที่จังหวัดสุพรรณบุรี  สิงห์บุรี  และชัยนาท ได้พบเหรียญเงินที่มีจารึก
 ทวารวดี ประทับอยู่ด้วย
                                            นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์  เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์   นครปฐมเป็นเมืองที่มีการทำเงินขึ้นใช้เอง มีการค้นพบหลักฐาน เงินตราสมัยนั้นหลายรูปแบบ  เช่น รูปสังข์ ประสาท  ตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม)    จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง
                                            นอกจากนี้ได้มีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญ ในบริเวณจังหวัดนครปฐม  สุพรณณบุรี  สิงห์บุรี  ชัยนาท  ลพบุรี  และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ  เขมร  เป็นเจ้าของอารยธรรมของทวารวดี  และการที่อาณาจักร ทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  และอยู่ใกล้ทะเลทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดีย เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย  เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี และได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังได้พบโบราณสถาน โบราณวัตถุสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม)  เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)  เมืองละโว้ (ลพบุรี)  เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์)  เมืองฟาแดดสงยาง (กาฬสินธุ์)  เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
                                            ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง  เช่น ด้านการปกครอง  รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเปป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเอง แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ  การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง
                                                หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11  13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม.  พบที่
นนคปฐม และอู่ทอง พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า ศรีทวารวดีศวร  และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง  ทำให้ชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้
ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียก ทวาราวดี)  ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ  และมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่
 เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในกลุ่มแม่น้ำท่าจีน)  เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน)
 เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)  เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี ในลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำ
เมืองอู่ตะเภา (บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)  เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธี ในแควตากแดด)
 เมืองซับจำปา (บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี)  และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัด
นอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง  เช่น  ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอ
บ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ พบที่เมืองจันเสน (ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองบึงโคกช้าง (ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ในแควตากแดด ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง)  เมืองศรีเทพ (จ.เพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน ลุ่มแม่น้ำปิง)  และเมืองบน (อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์  ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคตะวันออก มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11  18 อยู่ที่เมืองพระรถ (ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งค้นพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า)  มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 15  21 (อยู่ที่ ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี  ลุ่มแม่น้ำบางปะกง)  ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีนและญี่ปุ่น จากเตาอะริตะแบบอิมาริ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22  และติดต่ดถึงเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี)  เมืองดงละคร (จ.นครนายก)  เมืองท้าวอุทัย  และบ้านคูเมือง (จ.ฉะเชิงเทรา)
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจึงเป็นดินแดนของชนชาติมอญโบราณ  มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี)  กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี)  ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.1100  พระนางจามเทวีราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี)  ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน  ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระพบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจี  ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย  เมื่อพุทธศตวรรษที่ 3  4 และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ  บาลี สันสกฤต และภาษามอญ  ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียงพบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)  และพบจารึกมอญที่ลำพูน อายุราว พ.ศ. 1628  (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
                                            สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน เดิมเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร  มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัยปี พ.ศ. 600  1600 จำนวนมาก  นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น
                                            แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอดช้างดิน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  พบเงินเหรียญสมัยทวารวดี
เป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปหอยสังข์  บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรี
ชนิดต่างๆ เป็นต้น เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเมืองอู่ทองมีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี
                                            เมืองนครไชยศรีโบราณ ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุประโทณ จังหวัดนครปฐม และพบคูเมืองโบราณรูปสีเหลี่ยม
ขนาด 3,600 x 2,000 เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออไปตัดคลองพระประโทณ  ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด
บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 
หลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้นพบที่ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง)  อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์  ใกล้แม่น้ำซี  ได้ค้นพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว 1,200 ปี มีอายุเก่าแก่
กว่าสมัยนครวัดของอาณาจักรขอม  ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย  และได้พบ
เสมหินบางแท่งมีจารึกอัการปัลลวะของอินเดียด้วย
                                            สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า พระเจ้าอนุรุทรมหาราช
แห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป
                                            ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต ใน พ.ศ.1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลงทำหให้บรรดาเมือง
ประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ  ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ
พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวี พระธิดาขอมเป็นมเหสี และได้รับพระนามว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้
ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม และให้พ่อขุนบางกลางหาว สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระจาก
การปกครองของขอม
                                            อาณาจักรทวารวดีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200 ปี  จีงค่อยๆ เสื่อมลง  พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาส
ตีเมืองทวารวดี ที่ละเมืองสองเมือง  จนถึง พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลง และตกอยู่ในอำนาจของพวกขอม  พวกขอมได้กวาดต้อนผู้คนไป
เป็นเชลย นำไปใช้เป็นทาสทำงานต่างๆ จนถึง พ.ศ. 1800 คนไทยในหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี
ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้สำเร็จ  แต่เมืองนครปฐมได้กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองที่ไหล
ผ่านเมืองทวารวดีได้เปลี่ยนทิศทางใหม่  ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมาก จนทำให้นครปฐม (ทวารวดี) เป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะที่จะทำไร่ทำนา  ผู้คนจึง




ศิลปสมัยทวารวดี( พุทธศตวรรษที่ 11 - 16)
 
สมัยทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี นครปฐมและแถบสองฝั่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาและ
แม่น้ำแม่กลองเครื่องปั้นดินเผาสมัยนี้มักจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบ   อุณหภูมิใน
การเผาประมาณ  800 -  900 องศาเซลเซียสเนื้อผลิตภัณฑ์หลังจากเผาแล้วมีสีแดงเนื้อหยาบ
ใช้กร๊อกและแกลบเป็นส่วนผสมในการปั้นป้องกันการแตกในขณะที่เผา
 
ปฏิมากรรมสัมฤทธิ์ ศิลปทวารวดี พระพุทธรูปปางประทานพร
ได้รับอิทธิพลศิลปคุปตะและหลังคุปตะของอินเดีย
 
ลูกปัดแก้ว สมัยทวารวดีรู้จักใช้ลูกปัดมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินแล้ว ประมาณ
สามหมื่นถึงหมื่นสองพันปีก่อนคริสตกาลโดยใช้เมล็ดพืช เปลือกหอยทะเล ฟอสซิลเล็ก ๆ เขี้ยวสัตว์
เขาสัตว์ กระดองสัตว์ตลอดจนหิน นำมาเจาะรูร้อยเป็นพวง ลูกปัดหิน อำพันและกระดูกสัตว์ที่นำ
มาทำเป็นลูกปัดพบโดยตลอดทวีปยุโรป ถึงเอเชียและตอนเหนือของไซบีเรียสำหรับประเทศไทยได้รู้
จักเครื่องประดับมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ โดยใช้เปลือกหอยและกระดูกสัตว์หรืองาช้างนำมาเจาะรูร้อย
เชือกเป็นเครื่องประดับเช่นเดียวกันกับคนในที่อื่น ๆ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีการใช้ลูกปัด
เรื่อยมาจนถึงปลายยุคโลหะมีทั้ง ลูกปัดหิน ดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดแก้ว จะพบทั้งสี
เดียวและหลายสีโดยเฉพาะในบริเวณเมืองโบราณในประเทศไทยของอาณาจักรทวารวดีโดยเฉพาะอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่คูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
 
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น