วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555





 

                                                        อาณาจักรทวารวดี

                                            อาณาจักรทวารวดี  (พุทธศัตวรรษที่ 11  16)   เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรทางแถบลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยาตอนล่าง เป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย  เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่
มี เมืองนครปฐม เป็นศูนย์กลาง หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋น และ หลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง)  พ.ศ. 1150  ได้กล่าว
ไว้ในจดเหตุของท่านว่า  มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า)  และอิสานปุระ (เขมร)
 ชื่อ โดโลปอดี้ (ทวารวดี)  และอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้าง
ตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860  1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม  และแถบเมืองที่ตั้งอยู่
ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่องไปทางภาคะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ 
                                            ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิได้ครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระของอาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน)  และอาณาจักรเจนละ (หรือเจินละ)  ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ 11 นั้น  ได้มีชนชาติหนึ่งที่แตกต่างกับชาวเจนละ  ในด้านศาสนาและศิลปกรรม  ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน
                                            จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. 1172  1188  และพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง (I-Sing)  ได้เดินทางไปอินเดียทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น  ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า โลโปตี้  หรือ จุยล่อพัดดี้ (ทวารวดี)  เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร)  ปัจจุบันคือ ส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย
                                            พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึง
อาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน
                                            ในสมัยแรกๆ ได้มีการสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.ศ. 300  เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคย
เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11  16)  ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือปรากฎ
เป็นโบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน  วัดพระประโทนเจดีย์  วัดพระเมรุ  วัดพระงาม และวัดดอยยาหอม เป็นต้น   โบราณสถานที่ค้นพบ
ล้วนเป็นฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดบร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้น  มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่
แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน  และที่จังหวัดสุพรรณบุรี  สิงห์บุรี  และชัยนาท ได้พบเหรียญเงินที่มีจารึก
 ทวารวดี ประทับอยู่ด้วย
                                            นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์  เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์   นครปฐมเป็นเมืองที่มีการทำเงินขึ้นใช้เอง มีการค้นพบหลักฐาน เงินตราสมัยนั้นหลายรูปแบบ  เช่น รูปสังข์ ประสาท  ตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม)    จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง
                                            นอกจากนี้ได้มีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญ ในบริเวณจังหวัดนครปฐม  สุพรณณบุรี  สิงห์บุรี  ชัยนาท  ลพบุรี  และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ  เขมร  เป็นเจ้าของอารยธรรมของทวารวดี  และการที่อาณาจักร ทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  และอยู่ใกล้ทะเลทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดีย เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย  เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี และได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังได้พบโบราณสถาน โบราณวัตถุสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม)  เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)  เมืองละโว้ (ลพบุรี)  เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์)  เมืองฟาแดดสงยาง (กาฬสินธุ์)  เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
                                            ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง  เช่น ด้านการปกครอง  รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเปป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเอง แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ  การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง
                                                หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11  13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม.  พบที่
นนคปฐม และอู่ทอง พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า ศรีทวารวดีศวร  และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง  ทำให้ชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้
ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียก ทวาราวดี)  ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ  และมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่
 เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในกลุ่มแม่น้ำท่าจีน)  เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน)
 เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)  เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี ในลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำ
เมืองอู่ตะเภา (บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)  เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธี ในแควตากแดด)
 เมืองซับจำปา (บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี)  และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัด
นอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง  เช่น  ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอ
บ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ พบที่เมืองจันเสน (ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองบึงโคกช้าง (ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ในแควตากแดด ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง)  เมืองศรีเทพ (จ.เพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน ลุ่มแม่น้ำปิง)  และเมืองบน (อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์  ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคตะวันออก มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11  18 อยู่ที่เมืองพระรถ (ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งค้นพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า)  มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 15  21 (อยู่ที่ ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี  ลุ่มแม่น้ำบางปะกง)  ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีนและญี่ปุ่น จากเตาอะริตะแบบอิมาริ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22  และติดต่ดถึงเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี)  เมืองดงละคร (จ.นครนายก)  เมืองท้าวอุทัย  และบ้านคูเมือง (จ.ฉะเชิงเทรา)
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจึงเป็นดินแดนของชนชาติมอญโบราณ  มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี)  กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี)  ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.1100  พระนางจามเทวีราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี)  ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน  ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระพบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจี  ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย  เมื่อพุทธศตวรรษที่ 3  4 และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ  บาลี สันสกฤต และภาษามอญ  ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียงพบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)  และพบจารึกมอญที่ลำพูน อายุราว พ.ศ. 1628  (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
                                            สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน เดิมเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร  มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัยปี พ.ศ. 600  1600 จำนวนมาก  นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น
                                            แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอดช้างดิน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  พบเงินเหรียญสมัยทวารวดี
เป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปหอยสังข์  บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรี
ชนิดต่างๆ เป็นต้น เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเมืองอู่ทองมีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี
                                            เมืองนครไชยศรีโบราณ ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุประโทณ จังหวัดนครปฐม และพบคูเมืองโบราณรูปสีเหลี่ยม
ขนาด 3,600 x 2,000 เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออไปตัดคลองพระประโทณ  ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด
บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 
หลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้นพบที่ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง)  อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์  ใกล้แม่น้ำซี  ได้ค้นพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว 1,200 ปี มีอายุเก่าแก่
กว่าสมัยนครวัดของอาณาจักรขอม  ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย  และได้พบ
เสมหินบางแท่งมีจารึกอัการปัลลวะของอินเดียด้วย
                                            สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า พระเจ้าอนุรุทรมหาราช
แห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป
                                            ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต ใน พ.ศ.1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลงทำหให้บรรดาเมือง
ประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ  ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ
พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวี พระธิดาขอมเป็นมเหสี และได้รับพระนามว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้
ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม และให้พ่อขุนบางกลางหาว สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระจาก
การปกครองของขอม
                                            อาณาจักรทวารวดีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200 ปี  จีงค่อยๆ เสื่อมลง  พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาส
ตีเมืองทวารวดี ที่ละเมืองสองเมือง  จนถึง พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลง และตกอยู่ในอำนาจของพวกขอม  พวกขอมได้กวาดต้อนผู้คนไป
เป็นเชลย นำไปใช้เป็นทาสทำงานต่างๆ จนถึง พ.ศ. 1800 คนไทยในหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี
ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้สำเร็จ  แต่เมืองนครปฐมได้กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองที่ไหล
ผ่านเมืองทวารวดีได้เปลี่ยนทิศทางใหม่  ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมาก จนทำให้นครปฐม (ทวารวดี) เป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะที่จะทำไร่ทำนา  ผู้คนจึง




ศิลปสมัยทวารวดี( พุทธศตวรรษที่ 11 - 16)
 
สมัยทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี นครปฐมและแถบสองฝั่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาและ
แม่น้ำแม่กลองเครื่องปั้นดินเผาสมัยนี้มักจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบ   อุณหภูมิใน
การเผาประมาณ  800 -  900 องศาเซลเซียสเนื้อผลิตภัณฑ์หลังจากเผาแล้วมีสีแดงเนื้อหยาบ
ใช้กร๊อกและแกลบเป็นส่วนผสมในการปั้นป้องกันการแตกในขณะที่เผา
 
ปฏิมากรรมสัมฤทธิ์ ศิลปทวารวดี พระพุทธรูปปางประทานพร
ได้รับอิทธิพลศิลปคุปตะและหลังคุปตะของอินเดีย
 
ลูกปัดแก้ว สมัยทวารวดีรู้จักใช้ลูกปัดมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินแล้ว ประมาณ
สามหมื่นถึงหมื่นสองพันปีก่อนคริสตกาลโดยใช้เมล็ดพืช เปลือกหอยทะเล ฟอสซิลเล็ก ๆ เขี้ยวสัตว์
เขาสัตว์ กระดองสัตว์ตลอดจนหิน นำมาเจาะรูร้อยเป็นพวง ลูกปัดหิน อำพันและกระดูกสัตว์ที่นำ
มาทำเป็นลูกปัดพบโดยตลอดทวีปยุโรป ถึงเอเชียและตอนเหนือของไซบีเรียสำหรับประเทศไทยได้รู้
จักเครื่องประดับมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ โดยใช้เปลือกหอยและกระดูกสัตว์หรืองาช้างนำมาเจาะรูร้อย
เชือกเป็นเครื่องประดับเช่นเดียวกันกับคนในที่อื่น ๆ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีการใช้ลูกปัด
เรื่อยมาจนถึงปลายยุคโลหะมีทั้ง ลูกปัดหิน ดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดแก้ว จะพบทั้งสี
เดียวและหลายสีโดยเฉพาะในบริเวณเมืองโบราณในประเทศไทยของอาณาจักรทวารวดีโดยเฉพาะอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่คูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
 
 






                                                     


เนื่องจากเห็นมีพี่ๆน้องๆถามกันมาบ้างเหมือนกันหนอ เรื่องวิธีการเลี้ยงปูนา ชะรอยว่าห้องกุ้งของเรา น่าจะมีผู้ที่ชื่นชอบ

และเเอบเลี้ยงปู และ น้องปู อยู่แบบไม่แสดงตัวบ้างเหมือนกัน ดังนั้นกระผมเลยลองหาแนวทางวิธีการเลี้ยงปู มาให้พี่ๆน้องๆ

ได้ศึกษากันครับ สามารถนำไปปรับเลี้ยงกับปูน้ำจืดได้หลายชนิด ยกเว้น ปูทะเล ที่ใครหลงซื้อมา ขอแนะนำให้นั่งรถไปแถว

พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สักการะองค์พระสมุทรเจดีย์ ให้เป็นศิริมงคล และก็ทำบุญปล่อยปู ไปตรงบริเวณป่าชายเลย

เสียเลยนะครับ ได้ทั้งความสบายใจ อิ่มบุญ และได้ช่วยเหลือสัตว์โลกไปตามสมควรด้วย แล้วอย่าลืมบอกต่อเพื่อนๆว่าอย่าอุดหนุน

การซื้อขายปูทะเล , ปูป่าชายเลนเลยหนอ ถ้าเขาขายไม่ดี จะได้เลิกขายไปครับ


   ******************************************************************************

   มาทำความรู้จักกับปูนา กันก่อนเน่อ

   ******************************************************************************

 
บทคัดย่อ : ธรรมชาติให้ความยุติธรรมกับผู้คนเสมอ หากรู้จักและปรับตัวเข้ากับมัน ความเปลี่ยนแปรตามฤดูกาลต่างๆ ก่อให้เกิดอาหารที่อุดมสมบูรณ์หมุนเวียนตลอดทั้งปีแก่ผู้คนที่ต่างพึ่งพาธรรมชาติในการดำรงชีพ

วิถีชีวิตชาวบ้านผูกพันกับท้องไร่ท้องนามาช้านาน ผู้คนอาศัยท้องนาเป็น
      ธรรมชาติให้ความยุติธรรมกับผู้คนเสมอ หากรู้จักและปรับตัวเข้ากับมัน ความเปลี่ยนแปรตามฤดูกาลต่างๆ ก่อให้เกิดอาหารที่อุดมสมบูรณ์หมุนเวียนตลอดทั้งปีแก่ผู้คนที่ต่างพึ่งพาธรรมชาติในการดำรงชีพ

วิถีชีวิตชาวบ้านผูกพันกับท้องไร่ท้องนามาช้านาน ผู้คนอาศัยท้องนาเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นผลิตผลจากข้าวที่ใช้กินใช้ขาย และสัตว์นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในนา โดยเฉพาะปูนาที่นำมาปรุงเป็นอาหารเลิศรสของชาวชนบททุกภาคของไทย

ปูนา เป็นปูน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยจะมีปูน้ำจืดอยู่ 4 ชนิด ด้วยกัน โดยเรียกตามแหล่งที่อยู่ของปู ได้แก่ ปูลำห้วย ปูน้ำตก ปูป่า และปูนา

ปูนา เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีเพียงกระดองห่อหุ้มลำตัว เพศผู้จะมีท้องเรียวเล็กคล้ายตัวที ก้ามด้านซ้ายและขวาจะมีขนาดแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนเพศเมียท้องมีลักษณะเป็นแผ่นกว้าง ขยายเกือบเต็มท้อง ก้ามด้านซ้ายและขวาจะมีขนาดไม่แตกต่างกัน การเจริญเติบโตของปูนาในแต่ละครั้งจะอาศัยการลอกคราบเพื่อขยายขนาด

อาหารจากปูนาเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกและสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแกงปูนายอดชะมวงของคนภาคใต้ ปูนาดองใส่ส้มตำปลาร้ารสแซ่บ หรือปูนากับส้มตำของชาวอีสานที่นิยมเอาลูกปูนาตัวเล็กมาฉีกขา ฉีกกระดองออกจากกันแล้วใส่ปากเคี้ยวดังกรุบกรอบ ชาวบ้านบอกว่าเนื้อมันหวานอร่อยดีนักเชียว หรือน้ำปู๋อาหารอร่อยราคาแพงของคนเหนือ เป็นต้น

รายการอาหารของคนเหนือจากปูนาอีกอย่างหนึ่งที่อร่อยไม่แพ้กัน คือ ตำปูนา มีส่วนผสมดังนี้

1. ลูกปูนา 10 ตัว

2. น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ

3. พริกขี้หนูสด 10 เม็ด

4. น้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ

กรรมวิธีในการทำ

1. เอาลูกปูนาแกะกระดอง ขา ออกจากกัน ใส่ครกโขลกเบาๆ พอหยาบๆ

2. เอาพริกขี้หนูสดใส่โขลกเบาๆ พอให้แหลก

3. ใส่น้ำปลาร้าที่เตรียมเอาไว้ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน

4. บีบน้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียกที่เตรียมไว้

5. ตักใส่ถ้วยเตรียมรับประทาน

ตำปูนารสเค็มออกเปรี้ยว มีความหวานจากเนื้อปู ผสมกลมกล่อมกับรสเผ็ดจากพริกขี้หนูสด กินกับข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ แกล้มผักสดที่หาได้จากริมรั้ว ไม่ว่าจะเป็นยอดกระถิน ยอดกระเฉด ยอดขนุน ผักติ้ว สายบัว ยอดผักบุ้ง แตงกวา มะเขือทุกชนิด เช่น มะเขือเปราะ มะเขือขื่น ผู้ที่ชื่นชอบมะเขือจะนำมะเขือขื่นหั่นหยาบๆ คั้นหลายๆ ครั้ง เอาเมล็ดและรสขื่นออก ตำกระเทียมสด เกลือป่นคลุกเคล้ากับมะเขือที่หั่นไว้ให้เข้ากัน กินกับตำปูนา ทำให้รสชาติตำปูนาอร่อยถูกปากยิ่งขึ้น

การจับปูนาเพื่อนำมาปรุงอาหาร มีวิธีการที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและฤดูกาล โดยปกติชาวบ้านสามารถจับปูได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนหรือฤดูฝน

ช่วงหน้าฝน ชาวบ้านนิยมจับปูกันมาก เป็นเพราะอยู่ในช่วงทำนาที่มีการไถนา คราดนา ไถดะ ไถแปร ระหว่างการไถนาเมื่อเห็นปูไต่ตามนาก็สามารถเก็บใส่ข้องหรือถังได้โดยง่าย หลังจากปลูกข้าวประมาณ 1 เดือน เมื่อต้นข้าวเริ่มเขียว แตกใบอ่อนและตั้งกอได้แล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างงานมักจะชักชวนกันไปเก็บปูนามาปรุงอาหารหรือทำน้ำปู๋ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนเหนือ ทำน้ำพริกปู๋ ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู๋ หรือแกงหน่อไม้ใส่น้ำปู๋ ซึ่งในช่วงหน้าฝนนี้จะมีหน่อไม้ออกมามาก

ชาวบ้านจะหาปูในช่วงเที่ยง-บ่าย เพราะแสงแดดจัดจะเผาน้ำในนาจนร้อน ปูจะหนีน้ำร้อนในนามาเกาะต้นข้าวหรือซ่อนในหญ้าตามคันนา เมื่อปูรู้ว่ามีคนมาก็มักจะหลบลงไปในน้ำ แต่เมื่อเจอน้ำร้อนสักพักปูก็กลับมาใหม่ ได้ทีคนดักเก็บปูอย่างง่ายดาย ชาวบ้านบางคนอาจใช้วิธีจับปูโดยเหลาไม้คล้ายไม้พายกวนขนมขนาด 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต หรือ 1.5 ฟุต ทำปลายแหลมคล้ายเสียมเพื่อจะใช้แทงลัด (ดักทางเข้า) รูปูหรือโขยปู ซึ่งปูนาจะทำรูตามคันนาไว้หลบศัตรูหรือหลบภัย เพราะช่วงร้อนๆ ปูนาบางตัวจะหลบอยู่ในรูตามคันนา จะอยู่ในลักษณะโผล่ตัวมาให้เห็น เมื่อชาวบ้านเห็นปูวิ่งเข้ารูก็จะใช้ไม้ที่เตรียมไว้แทงลัดรูปูแล้วจับปูตามต้องการ

ลักษณะเฉพาะของรูปู ปูนาจะทำรูให้เหนือระดับน้ำในนาประมาณ 1 เซนติเมตร ถึง 2 หรือ 3 นิ้ว ซึ่งน้ำในรูปูจะเย็นกว่าน้ำในนาเพราะแสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึงรูปู จะมีลักษณะเป็นรูปรี แบนๆ คล้ายตัวปู ระหว่างทางเข้ารูจะมีรอยตีนปูเป็นจุดๆ เป็นระยะๆ ถ้าไม่ใช่ลักษณะดังกล่าวจะเป็นรูกบ เขียดหรือรูงู ซึ่งชาวบ้านจะถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกันด้วยความชำนาญ ใครชำนาญมากก็จะประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อในแต่ละครั้ง

นอกจากนี้ การดักซ่อน ดักไซ ก็สามารถใช้กับปูได้เช่นกัน ส่วนมากจะดักในช่วงเดือนยี่ เดือนสิบสอง หรือช่วงลอยกระทงเป็นต้นไป ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ส่งท้ายฤดูฝนคือช่วงปลายฝนต้นหนาว ชาวบ้านเรียกว่าฝนส่งปูส่งปลา ในช่วงฤดูฝนหรือก่อนเข้าพรรษา พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ก็จะว่ายทวนน้ำไปหากินยังแหล่งต้นน้ำ ต่อเมื่อปลายฤดูก็จะว่ายลงไปแหล่งที่อยู่เดิม ชาวบ้านเรียกว่า ปลาลง ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านนิยมหาปลาอีกครั้งหนึ่ง

ช่วงฤดูฝนนี้ชาวบ้านนิยมหาปูเพราะปูมีความสมบูรณ์ที่สุด ตัวจะโตและมีมันปูมากกว่าฤดูอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะอาหารอุดมสมบูรณ์และเป็นฤดูวางไข่ของปูด้วย ชาวบ้านซึ่งเป็นพรานตกปลานิยมนำมันปูมาเป็นเหยื่อตกปลา โดยมีอุปกรณ์ดังนี้

1. เบ็ดตกปลา

2. ก้านละหุ่งหรือก้านบัว

3. มันปู

โดยมีวิธีการ ดังนี้

1. แกะปูออกจากกระดองก็จะมีมันปูสีเหลืองๆ อยู่ติดกระดอง

2. นำตะขอเบ็ดหมุนรอบมันปูพอให้ติด

3. หักก้านละหุ่งหรือก้านบัวให้ขาดจากกันจะมีเส้นใยคล้ายใยแมงมุม นำใยนี้มาพันรอบมันปูที่ตะขอเบ็ด คล้ายพันผ้าขาวบางเพื่อหุ้มมันปูไม่ให้หลุดจากตะขอ

การตกเบ็ดด้วยมันปูจะเป็นที่ชื่นชอบของพวกปลากินสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะปลาดุก ปลาช่อน ปลากด เป็นต้น

เคล็ดลับการตกเบ็ดที่จะทำให้ได้ปลามาก ต้องให้เหยื่อลอยอยู่เหนือพื้นดินใต้ท้องน้ำประมาณ 1 คืบ เพราะถ้าลึกถึงดินจะทำให้ปลาไม่เห็นเหยื่อ คนก็หมดโอกาสได้ปลา

ในช่วงฤดูหนาว หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว หนองน้ำเริ่มแห้ง ในนายังพอมีความชื้น ช่วงนี้ปูที่รอดชีวิตจากการจับช่วงฤดูฝนก็เตรียมตัวจำศีลหรือขุดรูให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ บริเวณท้องนาหรือหนองน้ำจะมีโคลนทำให้ขุดหาปูได้ง่าย ปูจะขุดดินมาปิดรู ชาวบ้านเรียกว่า ป๊อดปู๋ และจะอาศัยอยู่ในรูจนกว่าจะมีฝนใหม่ในฤดูฝนหน้า แต่ถ้าชาวบ้านมาขุดปูไปเป็นอาหารเสียก่อนก็อวสานสำหรับชีวิตปู ในช่วงปลายหนาวเข้าหน้าแล้งชาวบ้านจะนิยมขุดปูตามท้องนาหรือหนองน้ำที่แห้งขอด พร้อมๆ กับหากบจำศีลในฤดูกาลเดียวกัน

ส่วนฤดูร้อน เมื่อลมร้อนมาเยือน การหาปูนาแทบจะหมดไป ชาวบ้านจะนิยมหาปูห้วยแทน ปูที่หาจากลำห้วยนี้ ชาวบ้านเรียกว่า ปูจั่ว ซึ่งจะมีก้ามใหญ่ ตัวใหญ่ นำมาปรุงอาหาร ก้ามปูถึงจะใหญ่ กรอบ และไม่แข็งเหมือนปูดำหรือปูทะเล ปูจั่ว จะเป็นปูขนาดใหญ่ในบรรดาปูน้ำจืด แต่จะเล็กกว่าปูดำ ซึ่งเป็นปูทะเลเล็กน้อย บางตัวจะมีสีค่อนข้างม่วง ชาวบ้านมักจะไปขุดหรือเก็บตามซอกหินตามลำห้วยต้นน้ำ นำไปปรุงเป็นอาหาร อาจนำไปทำเป็นปูผัดผงกะหรี่ อร่อยไม่แพ้ปูจากทะเลเลยทีเดียว

ปูนา อาหารอร่อยจากท้องทุ่ง มีให้เลือกเก็บเลือกกินได้ทุกฤดูกาล หาง่าย ราคาถูก เป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมของชาวบ้าน เหมาะกับการนำมาปรุงเป็นเมนูจานเด็ดบนโต๊ะอาหาร ในยุคเศรษฐกิจที่ไม่พอเพียงเช่นในปัจจุบัน
 
 
************************************************************************

การเลี้ยงปูนา แบบปลอดสารพิษ

************************************************************************

  จาก เอกสารคำแนะนำการเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ ของสำนักงานเกษตรอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ระบุไว้ว่า ปูนาเป็น ปูน้ำจืดชนิดที่มีกระดองเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมน กลมมีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาได้ มีปาก อยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง เหนือเบ้าตา มีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ และขอบบนมีหนามงอกออกมา กระดองปูนามีสีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลม่วง มีขาเป็นคู่ รวม 5 คู่ คู่แรกเรียกว่าก้ามหนีบ ใช้ในการจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร

ก้ามหนีบของตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ก้ามหนีบซ้ายและขวาจะใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะมักจะใหญ่สลับข้างกัน สำหรับปูเพศผู้ และเพศเมีย ลำตัวปู ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่วนนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen) ส่วนท้องลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง, จะปิ้ง ตับปิ้ง จับปิ้งของปูเพศผู้มีขนาดเล็ก แต่จับปิ้งของปูเพศเมียมีขนาดกลม กว้างใหญ่ เพื่อใช้ในการเก็บไข่ และลูกไว้ ปลายจับปิ้งจะเป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย

ปูนาดำ และปูลำห้วย จะมีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การผสมพันธุ์ของปูน้ำจืด ที่พบการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพศเมียจะหงายส่วนท้องขึ้น และเปิดจับปิ้งออก ส่วนเพศผู้จะขึ้นทับข้างบน พร้อมกับเปิดจับปิ้งออก และสอดขาเดินเข้าไปในส่วนท้อง ของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อ ที่อยู่ระหว่างจับปิ้ง กับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์ ความดกของไข่ประมาณ 700 ฟองต่อตัว

การเลี้ยงปูนา ส่วนใหญ่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพราะสะดวกในการดูแลรักษา เก็บผลผลิต และที่สำคัญ คือการป้องกันปูไม่ให้ขุดรูหนีออกจากบ่อได้ บ่อปูจะสร้างโดยการก่อแผนซีเมนต์บล็อกสูง 1 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ในบ่อเลี้ยงปูนา จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จะเป็นที่อยู่อาศัยของปู โดยเอาดินอาจจะเป็นดินร่วนปนเหนียว หรือดินในทุ่งนามาใส่ไว้ข้างใดข้างหนึ่งขอบบ่อสูง 30 ซม. และทำให้เอียงลงในส่วนที่ 2 คือ จะเป็นส่วนของน้ำ โดยส่วนที่ 1 จะทำเลียนแบบธรรมชาติ ตามทุ่งนา คือจะมี กอข้าว และพืชที่ขึ้นตามทุ่งนา

ปูนาจะขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย และจะออกหากิน โดยจะกินเศษซากที่เน่าเปื่อย ต้นข้าว หรือลูกปลาขนาดเล็ก จากการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์พบว่าปูนาสามารถหัดให้กินอาหารเม็ดปลาดุกได้ หรือใช้เศษข้าวสวย ให้เป็นอาหารบริเวณที่อยู่อาศัยของปู ส่วนที่เป็นดินต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด คือเศษอาหารที่ให้ปู ถ้าเหลือทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นเชื้อรา ต้องเก็บออก ช่วงที่เก็บผลผลิตควรเป็นช่วงฤดูหนาว เพราะช่วงนี้ปูจะขุดรูอยู่ตามท้องนา หาได้ยาก และบางพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช เยอะ ๆ ปูก็จะตาย หรือไม่ก็มีการสะสมสารพิษใน ตัวปู การนำปูนามาแปรรูปเป็นอาหารก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ ทำให้ชีวิตไม่ปลอดภัย 

ส่วนการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์จะเป็นปูนา ที่ปลอดสารพิษ และสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหาร ได้ ไม่ว่าจะเป็นปูดอง หรือทำเป็นอาหารเพื่อจำหน่าย เป็นรายได้เสริมอีกทาง ไม่ว่าจะทำเป็น ยำปูนา ลาบปูนา ทอดปูกรอบ และอุกะปู เป็นต้น.

การเลี้ยงปูนา






















  


เนื่องจากเห็นมีพี่ๆน้องๆถามกันมาบ้างเหมือนกันหนอ เรื่องวิธีการเลี้ยงปูนา ชะรอยว่าห้องกุ้งของเรา น่าจะมีผู้ที่ชื่นชอบ

และเเอบเลี้ยงปู และ น้องปู อยู่แบบไม่แสดงตัวบ้างเหมือนกัน ดังนั้นกระผมเลยลองหาแนวทางวิธีการเลี้ยงปู มาให้พี่ๆน้องๆ

ได้ศึกษากันครับ สามารถนำไปปรับเลี้ยงกับปูน้ำจืดได้หลายชนิด ยกเว้น ปูทะเล ที่ใครหลงซื้อมา ขอแนะนำให้นั่งรถไปแถว

พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สักการะองค์พระสมุทรเจดีย์ ให้เป็นศิริมงคล และก็ทำบุญปล่อยปู ไปตรงบริเวณป่าชายเลย

เสียเลยนะครับ ได้ทั้งความสบายใจ อิ่มบุญ และได้ช่วยเหลือสัตว์โลกไปตามสมควรด้วย แล้วอย่าลืมบอกต่อเพื่อนๆว่าอย่าอุดหนุน

การซื้อขายปูทะเล , ปูป่าชายเลนเลยหนอ ถ้าเขาขายไม่ดี จะได้เลิกขายไปครับ


 

   มาทำความรู้จักกับปูนา กันก่อนเน่อ

  

 
บทคัดย่อ : ธรรมชาติให้ความยุติธรรมกับผู้คนเสมอ หากรู้จักและปรับตัวเข้ากับมัน ความเปลี่ยนแปรตามฤดูกาลต่างๆ ก่อให้เกิดอาหารที่อุดมสมบูรณ์หมุนเวียนตลอดทั้งปีแก่ผู้คนที่ต่างพึ่งพาธรรมชาติในการดำรงชีพ

วิถีชีวิตชาวบ้านผูกพันกับท้องไร่ท้องนามาช้านาน ผู้คนอาศัยท้องนาเป็น
      ธรรมชาติให้ความยุติธรรมกับผู้คนเสมอ หากรู้จักและปรับตัวเข้ากับมัน ความเปลี่ยนแปรตามฤดูกาลต่างๆ ก่อให้เกิดอาหารที่อุดมสมบูรณ์หมุนเวียนตลอดทั้งปีแก่ผู้คนที่ต่างพึ่งพาธรรมชาติในการดำรงชีพ

วิถีชีวิตชาวบ้านผูกพันกับท้องไร่ท้องนามาช้านาน ผู้คนอาศัยท้องนาเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นผลิตผลจากข้าวที่ใช้กินใช้ขาย และสัตว์นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในนา โดยเฉพาะปูนาที่นำมาปรุงเป็นอาหารเลิศรสของชาวชนบททุกภาคของไทย

ปูนา เป็นปูน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยจะมีปูน้ำจืดอยู่ 4 ชนิด ด้วยกัน โดยเรียกตามแหล่งที่อยู่ของปู ได้แก่ ปูลำห้วย ปูน้ำตก ปูป่า และปูนา

ปูนา เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีเพียงกระดองห่อหุ้มลำตัว เพศผู้จะมีท้องเรียวเล็กคล้ายตัวที ก้ามด้านซ้ายและขวาจะมีขนาดแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนเพศเมียท้องมีลักษณะเป็นแผ่นกว้าง ขยายเกือบเต็มท้อง ก้ามด้านซ้ายและขวาจะมีขนาดไม่แตกต่างกัน การเจริญเติบโตของปูนาในแต่ละครั้งจะอาศัยการลอกคราบเพื่อขยายขนาด

อาหารจากปูนาเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกและสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแกงปูนายอดชะมวงของคนภาคใต้ ปูนาดองใส่ส้มตำปลาร้ารสแซ่บ หรือปูนากับส้มตำของชาวอีสานที่นิยมเอาลูกปูนาตัวเล็กมาฉีกขา ฉีกกระดองออกจากกันแล้วใส่ปากเคี้ยวดังกรุบกรอบ ชาวบ้านบอกว่าเนื้อมันหวานอร่อยดีนักเชียว หรือน้ำปู๋อาหารอร่อยราคาแพงของคนเหนือ เป็นต้น

รายการอาหารของคนเหนือจากปูนาอีกอย่างหนึ่งที่อร่อยไม่แพ้กัน คือ ตำปูนา มีส่วนผสมดังนี้

1. ลูกปูนา 10 ตัว

2. น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ

3. พริกขี้หนูสด 10 เม็ด

4. น้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ

กรรมวิธีในการทำ

1. เอาลูกปูนาแกะกระดอง ขา ออกจากกัน ใส่ครกโขลกเบาๆ พอหยาบๆ

2. เอาพริกขี้หนูสดใส่โขลกเบาๆ พอให้แหลก

3. ใส่น้ำปลาร้าที่เตรียมเอาไว้ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน

4. บีบน้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียกที่เตรียมไว้

5. ตักใส่ถ้วยเตรียมรับประทาน

ตำปูนารสเค็มออกเปรี้ยว มีความหวานจากเนื้อปู ผสมกลมกล่อมกับรสเผ็ดจากพริกขี้หนูสด กินกับข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ แกล้มผักสดที่หาได้จากริมรั้ว ไม่ว่าจะเป็นยอดกระถิน ยอดกระเฉด ยอดขนุน ผักติ้ว สายบัว ยอดผักบุ้ง แตงกวา มะเขือทุกชนิด เช่น มะเขือเปราะ มะเขือขื่น ผู้ที่ชื่นชอบมะเขือจะนำมะเขือขื่นหั่นหยาบๆ คั้นหลายๆ ครั้ง เอาเมล็ดและรสขื่นออก ตำกระเทียมสด เกลือป่นคลุกเคล้ากับมะเขือที่หั่นไว้ให้เข้ากัน กินกับตำปูนา ทำให้รสชาติตำปูนาอร่อยถูกปากยิ่งขึ้น

การจับปูนาเพื่อนำมาปรุงอาหาร มีวิธีการที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและฤดูกาล โดยปกติชาวบ้านสามารถจับปูได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนหรือฤดูฝน

ช่วงหน้าฝน ชาวบ้านนิยมจับปูกันมาก เป็นเพราะอยู่ในช่วงทำนาที่มีการไถนา คราดนา ไถดะ ไถแปร ระหว่างการไถนาเมื่อเห็นปูไต่ตามนาก็สามารถเก็บใส่ข้องหรือถังได้โดยง่าย หลังจากปลูกข้าวประมาณ 1 เดือน เมื่อต้นข้าวเริ่มเขียว แตกใบอ่อนและตั้งกอได้แล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างงานมักจะชักชวนกันไปเก็บปูนามาปรุงอาหารหรือทำน้ำปู๋ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนเหนือ ทำน้ำพริกปู๋ ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู๋ หรือแกงหน่อไม้ใส่น้ำปู๋ ซึ่งในช่วงหน้าฝนนี้จะมีหน่อไม้ออกมามาก

ชาวบ้านจะหาปูในช่วงเที่ยง-บ่าย เพราะแสงแดดจัดจะเผาน้ำในนาจนร้อน ปูจะหนีน้ำร้อนในนามาเกาะต้นข้าวหรือซ่อนในหญ้าตามคันนา เมื่อปูรู้ว่ามีคนมาก็มักจะหลบลงไปในน้ำ แต่เมื่อเจอน้ำร้อนสักพักปูก็กลับมาใหม่ ได้ทีคนดักเก็บปูอย่างง่ายดาย ชาวบ้านบางคนอาจใช้วิธีจับปูโดยเหลาไม้คล้ายไม้พายกวนขนมขนาด 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต หรือ 1.5 ฟุต ทำปลายแหลมคล้ายเสียมเพื่อจะใช้แทงลัด (ดักทางเข้า) รูปูหรือโขยปู ซึ่งปูนาจะทำรูตามคันนาไว้หลบศัตรูหรือหลบภัย เพราะช่วงร้อนๆ ปูนาบางตัวจะหลบอยู่ในรูตามคันนา จะอยู่ในลักษณะโผล่ตัวมาให้เห็น เมื่อชาวบ้านเห็นปูวิ่งเข้ารูก็จะใช้ไม้ที่เตรียมไว้แทงลัดรูปูแล้วจับปูตามต้องการ

ลักษณะเฉพาะของรูปู ปูนาจะทำรูให้เหนือระดับน้ำในนาประมาณ 1 เซนติเมตร ถึง 2 หรือ 3 นิ้ว ซึ่งน้ำในรูปูจะเย็นกว่าน้ำในนาเพราะแสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึงรูปู จะมีลักษณะเป็นรูปรี แบนๆ คล้ายตัวปู ระหว่างทางเข้ารูจะมีรอยตีนปูเป็นจุดๆ เป็นระยะๆ ถ้าไม่ใช่ลักษณะดังกล่าวจะเป็นรูกบ เขียดหรือรูงู ซึ่งชาวบ้านจะถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกันด้วยความชำนาญ ใครชำนาญมากก็จะประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อในแต่ละครั้ง

นอกจากนี้ การดักซ่อน ดักไซ ก็สามารถใช้กับปูได้เช่นกัน ส่วนมากจะดักในช่วงเดือนยี่ เดือนสิบสอง หรือช่วงลอยกระทงเป็นต้นไป ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ส่งท้ายฤดูฝนคือช่วงปลายฝนต้นหนาว ชาวบ้านเรียกว่าฝนส่งปูส่งปลา ในช่วงฤดูฝนหรือก่อนเข้าพรรษา พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ก็จะว่ายทวนน้ำไปหากินยังแหล่งต้นน้ำ ต่อเมื่อปลายฤดูก็จะว่ายลงไปแหล่งที่อยู่เดิม ชาวบ้านเรียกว่า ปลาลง ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านนิยมหาปลาอีกครั้งหนึ่ง

ช่วงฤดูฝนนี้ชาวบ้านนิยมหาปูเพราะปูมีความสมบูรณ์ที่สุด ตัวจะโตและมีมันปูมากกว่าฤดูอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะอาหารอุดมสมบูรณ์และเป็นฤดูวางไข่ของปูด้วย ชาวบ้านซึ่งเป็นพรานตกปลานิยมนำมันปูมาเป็นเหยื่อตกปลา โดยมีอุปกรณ์ดังนี้

1. เบ็ดตกปลา

2. ก้านละหุ่งหรือก้านบัว

3. มันปู

โดยมีวิธีการ ดังนี้

1. แกะปูออกจากกระดองก็จะมีมันปูสีเหลืองๆ อยู่ติดกระดอง

2. นำตะขอเบ็ดหมุนรอบมันปูพอให้ติด

3. หักก้านละหุ่งหรือก้านบัวให้ขาดจากกันจะมีเส้นใยคล้ายใยแมงมุม นำใยนี้มาพันรอบมันปูที่ตะขอเบ็ด คล้ายพันผ้าขาวบางเพื่อหุ้มมันปูไม่ให้หลุดจากตะขอ

การตกเบ็ดด้วยมันปูจะเป็นที่ชื่นชอบของพวกปลากินสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะปลาดุก ปลาช่อน ปลากด เป็นต้น

เคล็ดลับการตกเบ็ดที่จะทำให้ได้ปลามาก ต้องให้เหยื่อลอยอยู่เหนือพื้นดินใต้ท้องน้ำประมาณ 1 คืบ เพราะถ้าลึกถึงดินจะทำให้ปลาไม่เห็นเหยื่อ คนก็หมดโอกาสได้ปลา

ในช่วงฤดูหนาว หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว หนองน้ำเริ่มแห้ง ในนายังพอมีความชื้น ช่วงนี้ปูที่รอดชีวิตจากการจับช่วงฤดูฝนก็เตรียมตัวจำศีลหรือขุดรูให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ บริเวณท้องนาหรือหนองน้ำจะมีโคลนทำให้ขุดหาปูได้ง่าย ปูจะขุดดินมาปิดรู ชาวบ้านเรียกว่า ป๊อดปู๋ และจะอาศัยอยู่ในรูจนกว่าจะมีฝนใหม่ในฤดูฝนหน้า แต่ถ้าชาวบ้านมาขุดปูไปเป็นอาหารเสียก่อนก็อวสานสำหรับชีวิตปู ในช่วงปลายหนาวเข้าหน้าแล้งชาวบ้านจะนิยมขุดปูตามท้องนาหรือหนองน้ำที่แห้งขอด พร้อมๆ กับหากบจำศีลในฤดูกาลเดียวกัน

ส่วนฤดูร้อน เมื่อลมร้อนมาเยือน การหาปูนาแทบจะหมดไป ชาวบ้านจะนิยมหาปูห้วยแทน ปูที่หาจากลำห้วยนี้ ชาวบ้านเรียกว่า ปูจั่ว ซึ่งจะมีก้ามใหญ่ ตัวใหญ่ นำมาปรุงอาหาร ก้ามปูถึงจะใหญ่ กรอบ และไม่แข็งเหมือนปูดำหรือปูทะเล ปูจั่ว จะเป็นปูขนาดใหญ่ในบรรดาปูน้ำจืด แต่จะเล็กกว่าปูดำ ซึ่งเป็นปูทะเลเล็กน้อย บางตัวจะมีสีค่อนข้างม่วง ชาวบ้านมักจะไปขุดหรือเก็บตามซอกหินตามลำห้วยต้นน้ำ นำไปปรุงเป็นอาหาร อาจนำไปทำเป็นปูผัดผงกะหรี่ อร่อยไม่แพ้ปูจากทะเลเลยทีเดียว

ปูนา อาหารอร่อยจากท้องทุ่ง มีให้เลือกเก็บเลือกกินได้ทุกฤดูกาล หาง่าย ราคาถูก เป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมของชาวบ้าน เหมาะกับการนำมาปรุงเป็นเมนูจานเด็ดบนโต๊ะอาหาร ในยุคเศรษฐกิจที่ไม่พอเพียงเช่นในปัจจุบัน
 
 

การเลี้ยงปูนา แบบปลอดสารพิษ



  จาก เอกสารคำแนะนำการเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ ของสำนักงานเกษตรอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ระบุไว้ว่า ปูนาเป็น ปูน้ำจืดชนิดที่มีกระดองเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมน กลมมีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาได้ มีปาก อยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง เหนือเบ้าตา มีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ และขอบบนมีหนามงอกออกมา กระดองปูนามีสีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลม่วง มีขาเป็นคู่ รวม 5 คู่ คู่แรกเรียกว่าก้ามหนีบ ใช้ในการจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร

ก้ามหนีบของตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ก้ามหนีบซ้ายและขวาจะใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะมักจะใหญ่สลับข้างกัน สำหรับปูเพศผู้ และเพศเมีย ลำตัวปู ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่วนนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen) ส่วนท้องลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง, จะปิ้ง ตับปิ้ง จับปิ้งของปูเพศผู้มีขนาดเล็ก แต่จับปิ้งของปูเพศเมียมีขนาดกลม กว้างใหญ่ เพื่อใช้ในการเก็บไข่ และลูกไว้ ปลายจับปิ้งจะเป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย

ปูนาดำ และปูลำห้วย จะมีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การผสมพันธุ์ของปูน้ำจืด ที่พบการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพศเมียจะหงายส่วนท้องขึ้น และเปิดจับปิ้งออก ส่วนเพศผู้จะขึ้นทับข้างบน พร้อมกับเปิดจับปิ้งออก และสอดขาเดินเข้าไปในส่วนท้อง ของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อ ที่อยู่ระหว่างจับปิ้ง กับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์ ความดกของไข่ประมาณ 700 ฟองต่อตัว

การเลี้ยงปูนา ส่วนใหญ่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพราะสะดวกในการดูแลรักษา เก็บผลผลิต และที่สำคัญ คือการป้องกันปูไม่ให้ขุดรูหนีออกจากบ่อได้ บ่อปูจะสร้างโดยการก่อแผนซีเมนต์บล็อกสูง 1 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ในบ่อเลี้ยงปูนา จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จะเป็นที่อยู่อาศัยของปู โดยเอาดินอาจจะเป็นดินร่วนปนเหนียว หรือดินในทุ่งนามาใส่ไว้ข้างใดข้างหนึ่งขอบบ่อสูง 30 ซม. และทำให้เอียงลงในส่วนที่ 2 คือ จะเป็นส่วนของน้ำ โดยส่วนที่ 1 จะทำเลียนแบบธรรมชาติ ตามทุ่งนา คือจะมี กอข้าว และพืชที่ขึ้นตามทุ่งนา

ปูนาจะขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย และจะออกหากิน โดยจะกินเศษซากที่เน่าเปื่อย ต้นข้าว หรือลูกปลาขนาดเล็ก จากการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์พบว่าปูนาสามารถหัดให้กินอาหารเม็ดปลาดุกได้ หรือใช้เศษข้าวสวย ให้เป็นอาหารบริเวณที่อยู่อาศัยของปู ส่วนที่เป็นดินต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด คือเศษอาหารที่ให้ปู ถ้าเหลือทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นเชื้อรา ต้องเก็บออก ช่วงที่เก็บผลผลิตควรเป็นช่วงฤดูหนาว เพราะช่วงนี้ปูจะขุดรูอยู่ตามท้องนา หาได้ยาก และบางพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช เยอะ ๆ ปูก็จะตาย หรือไม่ก็มีการสะสมสารพิษใน ตัวปู การนำปูนามาแปรรูปเป็นอาหารก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ ทำให้ชีวิตไม่ปลอดภัย 

ส่วนการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์จะเป็นปูนา ที่ปลอดสารพิษ และสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหาร ได้ ไม่ว่าจะเป็นปูดอง หรือทำเป็นอาหารเพื่อจำหน่าย เป็นรายได้เสริมอีกทาง ไม่ว่าจะทำเป็น ยำปูนา ลาบปูนา ทอดปูกรอบ และอุกะปู เป็นต้น.